top of page

การเชื่อมต่อเครือข่าย

ประเภทและรูปแบบของการเชื่อมต่อเครือข่าย

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย

โครงสร้างการเชื่อมต่อเครือข่าย

HOME

การเชื่อมต่อเครือข่าย

       และการจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบเครือข่าย เพื่อทำให้การใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นเกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพการนำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องมาทำการเชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้น จะต้องมีการศึกษาถึงรูปแบบโครงสร้าง ในการใช้งานสูงสุด ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดในบทนี้จะกล่าวถึง รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย (Line Configuration) และโครงสร้างการเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Topology) ในลักษณะต่างๆกัน

รายละเอียดเพิ่มเติม

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายหรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า โทโพโลยี เป็นลักษณะทั่วไปที่กล่าวถึงการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทางกายภาพว่ามีรูปแบบหน้าตาอย่างไร เพื่อให้สามารถสื่อสารร่วมกันได้และด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่นจะมีรูปแบบของโทโพโลยีหลายแบบด้วยกัน ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจแต่ละโทโพโลยีว่ามีความคล้ายคลึง หรือแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละโทโพโลยี และโดยปกติโทโพโลยีที่นิยมใช้กันบนเครือข่ายท้องถิ่นจะมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ

  แบบบัส ( BUS Topology ) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่เรียกว่า BUS ทีปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Teminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย

  ข้อดี ของการเชื่อแบบบัส คือ

  • สามารถติดตั้งได้ง่าย เนื่องจากเป็นโครงสร้างเครือข่ายที่ไม่ซับซ้อน

  • การเดินสายเพื่อต่อใช้งาน สามารถทำได้ง่าย

  • ประหยัดค่าใช้จ่าย กล่าวคือ ใช้สายส่งข้อมูลน้อยกว่า เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับสายหลักได้ทันที

  • ง่ายต่อการเพิ่มสถานีใหม่เข้าไปในระบบ โดยสถานีนี้สามารถใช้สายส่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้

  ข้อเสียของการเชื่อแบบบัส คือ

  • ถ้ามีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดไปจากสถานีใดสถานีหนึ่ง ก็จะทำให้ระบบเครือข่ายนี้หยุดการทำงานลงทันที

  • ถ้าระบบเกิดข้อผิดพลาดจะหาข้อผิดพกลาดได้ยาก โดยเฉพาะถ้าเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่

  แบบดาว ( Star topology ) เป็นการเชื่อมต่อสถานีหรือจุดต่าง ๆ ออกจากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่เรียกว่า File Server แต่ละสถานีจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อกับศูนย์กลาง ไม่มีการใช้สายสัญญาณร่วมกัน เมื่อสถานีใดเกิดความเสียหายจะไม่มีผลกระทบกับสถานีอื่น ๆ ปัจจุบันนิยมใช้อุปกรณ์ HUB เป็นตัวเชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง

 

  ข้อดีของการเชื่อมแบบดาว  

ง่ายต่อการใช้บริการ เพราะมีศูนย์กลางอยู่ที่คอมพิวเตอร์แม่ข่ายอยู่เครื่องเดียวและเมื่อเกิดความเสียหายที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นก็จะไม่มีผลกระทบอันใดเพราะใช้สายคนละเส้น

  ข้อเสียของการเชื่อมแบบดาว 

ต้องใช้สายสัญญาณจำนวนมาก เพราะแต่ละสถานีมีสายสัญญาณของตนเองเชื่อมต่อกับศูนย์กลางจึงเหมาะสมกับเครือข่ายระยะใกล้มาก กว่าการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล การขยายระบบก็ยุ่งยากเพราะต้องเชื่อมต่อสายจากศูนย์กลางออกมา ถ้าศูนย์กลางเสียหายระบบจะใช้การไม่ได้

  แบบวงแหวน ( Ring Topology ) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นรูปวงแหวนหรือแบบวนรอบ โดยสถานีแรกเชื่อมต่อกับสถาน สุดท้าย การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายจะต้องผ่านทุกสถานี โดยมีตัวนำสารวิ่งไปบนสายสัญญาณของแต่ละสถานี ต้องคอยตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมา ถ้าไม่ใช่ของตนเองต้องส่งผ่านไปยังสถานีอื่นต่อไป

  ข้อดีของการเชื่อมแบบวงแหวน

ใช้สายสัญญาณน้อยกว่าแบบดาวเหมาะกับการเชื่อมต่อด้วยสายสัญญาณใยแก้วนำแสง เพราะส่งข้อมูลทางเดียวกันด้วยความเร็วสูง

  ข้อเสียของการเชื่อมแบบวงแหวน

ถ้าสถานีใดเสียระบบก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้จนกว่าจะแก้ไขจุดเสียนั้น และยากในการตรวจสอบว่ามีปัญหาที่จุดใดและถ้าต้องการเพิ่มสถานีเข้าไปจะพกหระทำได้ยากด้วย​

   โครงสร้างเครือข่ายแบบผสม (Hybrid Topology) คือ เป็นเครือข่ายที่ผสมผสานกันทั้งแบบดาว,วงแหวน และบัส เช่น วิทยาเขตขนาดเล็กที่มีหลายอาคาร เครือข่ายของแต่ละอาคารอาจใช้แบบบัสเชื่อมต่อกับอาคารอื่นๆที่ใช้แบบดาว และแบบวงแหวน

 

   ข้อดี

  • สามารถเข้าถึงเครือข่ายที่อยู่ในระยะไกลได้

  • ทำให้การสื่อสารข้อมูลมีประสิทธิภาพ   

 

ข้อเสีย

  • ดูแลระบบยาก และเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสูง

  • โครงสร้างมีความซับซ้อนมีรูปแบบไม่แน่นอน  

  • โทโพโลยีแบบบัส
  • โทโพโลยีแบบดาว
  • โทโพโลยีแบบวงแหวน
  • โทโพโลยีแบบผสม
Leadership

วันนี้เหนื่อยใช่ไหม ไม่เป็นไรนะ เดี๋ยวพรุ่งนี้ก็เหนื่อยเหมือนเดิม เผลอๆหนักกว่าเดิมอีก

/ Phongpanod Phainiras

รูปแบบการเชื่อมต่อ

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย
หมายถึงการสร้างเส้นทางการสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง แบ่งออกเป็น 2
รูปแบบ คือ
1. รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบจุดต่อจุด (Point to Point)
2. รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบหลายจุด (Multi Point)หรือรูปแบบการ        เชื่อมต่อเครือข่ายแบบแพร่กระจาย (Broadcast)

Technology
Subscribe

รูปแบบการเชื่อมต่อ

 รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบจุดต่อจุด

เป็นการเชื่อมโยง คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายเข้าด้วยกันแบบจุดต่อจุด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ทุกๆ ตัว มีสายหรือสื่อส่งข้อมูลต่อเฉพาะระหว่างอุปกรณ์แต่ละตัว ทำให้มองดูเหมือนกับว่าระหว่างอุปกรณ์ 2 ตัวมีถนนที่ใช้เฉพาะ 2 อุปกรณ์นั้นๆ  ดังนั้นถ้าเรามีอุปกรณ์ n ตัว แต่ละตัวต้องมีช่องทางสื่อสาร (channel) เท่ากับ n- 1 ช่อง และมีช่องทางทั้งหมดในเครือข่ายเท่ากับ n(n-1)/2 ช่อง

     ข้อดี

  • มีความเร็วในการสื่อสารข้อมูลสูง โปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมการสื่อสารก็เป็นแบบพื้นฐานไม่ซับซ้อนมากนัก

  • สามารถรับส่งข้อมูลได้ปริมาณมากและไม่มีปัญหาเรื่องการจัดการการจราจรในสื่อ ส่งข้อมูลไม่เหมือนกับแบบที่ใช้สื่อส่งข้อมูลร่วมกัน

  • มีความทนทานต่อความเสียหายเมื่อสื่อส่งข้อมูลหรือสายใดสายหนึ่งเสียหายใช้ การไม่ได้ ไม่ส่งผลต่อระบบเครือข่ายโดยรวม แต่เกิดเสียหายเฉพาะเครื่องต้นสายและปลายสายเท่านั้น

  • ระบบเครือข่ายมีความปลอดภัยหรือมีความเป็นส่วนตัว เมื่อข่าวสารถูกรับส่งโดยใช้สายเฉพาะระหว่าง 2 เครื่องเท่านั้น เครื่องอื่นไม่สามารถเข้าไปใช้สายร่วมด้วย

  • เนื่องจากโทโพโลยีแบบสมบูรณ์เป็นการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด ทำให้เราสามารถแยกหรือระบุเครื่องหรือสายที่เสียหายได้ทันที ช่วยให้ผู้ดูแลระบบแก้ไขข้อผิดพราดหรือจุดที่เสียหายได้ง่าย

     ข้อเสีย

  • จำนวนสายที่ใช้ต้องมีจำนวนมากและอินพุด/เอาต์พุตพอร์ต (i/o port) ต้องใช้จำนวนมากเช่นกัน เพราะแต่ละเครื่องต้องต่อเชื่อมไปยังทุก ๆ เครื่องทำให้การติดตั้งหรือแก้ไขระบบทำได้ยาก

  • สายที่ใช้มีจำนวนมาก ทำให้สิ้นเปลืองพื้นที่ในการเดินสาย

  • เนื่องจากอุปกรณ์ต้องการใช้อินพุด/เอาต์พุตพอร์ตจำนวนมาก ดังนั้นราคาของอุปกรณ์ต่อเชื่อมจึงมีราคาแพงและจากข้อเสียข้างต้นทำให้โทโพ โลยีแบบสมบูรณ์จึงถูกทำไปใช้ค่อนข้างอยู่ในวงแคบ

  การเชื่อมโยงเครือข่ายแบบหลายจุด

คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้เส้นทางหรือลิงก์เพื่อการสื่อสารร่วมกันหรือกล่าวง่ายๆ คือ อุปกรณ์ต่างๆ สามารถสื่อสารระหว่างกันได้ด้วยการใช้ลิงก์หรือสายสื่อสารเพียงเส้นเดียว ดังนั้นวิธีการเชื่อมโยงชนิดนี้ทำให้ประหยัดสายส่งข้อมูลกว่าแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบจุดต่อจุด หรือ Point-to-Point โดยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่แล้วใช้วิธีการเชื่อมโยงแบบหลายจุด


 

 

 

 ข้อดี

  • ประหยัดสายส่งข้อมูล

  • การเพิ่มเติมโหนดสามารถเพิ่มได้โดยง่ายด้วยการเชื่อมต่อเข้ากับสายส่งที่ใช้งานร่วมกันได้ทันที

 ข้อเสีย

  • หากสายส่งข้อมูลขาด จะมีผลกระทบต่อระบบเครือข่าย

  • ไม่เหมาะกับการส่งข้อมูลแบบต่อเนื่องที่มีข้อมูลคราวละมากๆในเวลาเดียวกัน

Every Teacher's Dilemmas
bottom of page